WORKPERMIT-VISA-LAW-ACCOUNTING
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)  |  
 

 

ติดต่อ  นายสิงห์  ญาณรัตน์ 086-3457199,089-5305523,02-7281951

Click right  use  font  Encoding  Unicode(UTF-8)

             


ข่าวด่วน เอกสารทุกชนิดจากสรรพากรและประกันสังคมต้องได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่ 11/3/52

 หลักเกณฑ์ การขอใบอนุญาตทำงาน

 ประเภทบริษัททั่วไป              

  1.   บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ต่อ คนต่างชาติหนึ่งคน
  2. คนต่างด้าวต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้าม
  3. ต้องเป็นอาชีพที่ไม่ต้องห้าม และมีความจำเป็นในการว่าจ้าง 
  4.  คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

 เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

  o หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า NON-B

  o หลักฐานการศึกษาและใบผ่านงาน

  o ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)

  o รูปถ่าย 5 x 6 CM จำนวน 3 รูป

  o หนังสือรับรองบริษัท

o บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว

o งบดุลฯ และกำไรขาดทุน

o แบบคำขอตามที่กรมฯ กำหนด      

                                                                                             

                                                ระเบียบกรมการจัดงาน


ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้วย   พ.ศ.๒๕๔๗ เพื่อให้การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นไปโดยรอบคอบตรงตามเจตนารมณ์ของกฏหมายสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานคนต่างด้าว
                               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระ เบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงวางระเบียบไว้   ดังต่อไปนี้
                               ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่าระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณษอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๗
                               ข้อ ๒   ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นไป
                               ข้อ ๓   ให้ยกเลิก
                               ( ๑)   ระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว   พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
                               ( ๒)   ระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่   ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
                               ( ๓)   ระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓)   พ.ศ.๒๕๔๖   ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์   พ.ศ.๒๕๔๖
                               ข้อ   ๔ การออกใบอนุญาตให้กับคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้พิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยคำนึงถึง
                               ( ๑)   ความมั่นคงภานฃยในราชอาณาจักรด้านการเมือง   ศาสนา   เศรษฐกิจและสังคม
                               ( ๒)   การปกป้องมิให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพที่คนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้   และมีอำนาจเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในราชอาณาจักร
                               ( ๓)   ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนนั้นก่อให้เกิดการนำเงินตราตางประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จายในประเทศจำนวนมาก   ก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิทยาการสมัยที่เป็นประโยชน์ต่อการกัมนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีการถ่ายทอดให้คนไทย                                                                                            ( ๔)   การพัฒนาทักาะฝีมือที่คนไทยจะได้รับจากการที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถ่ายทอดความรู้   ความเข้าใจ   วิธีการ   รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร   เครื่องมือ   และความรู้ความชำนาญในงานวิจัยการสมัยใหม่ให้แก่คนไทยในงานนั้น
                               ( ๕)   หลักมนุษยธรรม
                               ข้อ   ๕   การพิจารณาออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์   ดังต่อไปนี้
                               ( ๑)   คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานในสถาบันการเงินในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลัง   หรือหนวยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน   โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย   หรือระทรวงการคลัง   หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน   ให้อนุญาตตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง
                               ( ๒)   คนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากราชการส่วนกลาง   ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น   รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฏหมายว่าด้วยแงค์การมหาชน   ที่เกี่ยงข้องซึ่งระบุชื่อตำแหน่งงาน   และระยะเวลาการทำงานขงคนต่างด้าวนั้น
                               ( ๓)   คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท    โดยทุก ๆ สองล้านบาทให้อนุญาตได่ฃ้หนึ่งคน   หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยก่อนวันที่ ๓๐ ตุลาคม   พ.ศ.๒๕๔๕   ที่ไม่มีหลักฐานการนำเงินเข้ามาจากต่างประเทศให้พิจารณาจากขนาดของการลงทุนจากจำนวนเงินคงเหลือตามที่ปรากฏในรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคารย้อนหลังหกเดือน   จำนวนตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป   โดยทุก ๆ ทสามล้านบามได้อนุญาตได้หนึ่งคน   เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมายและกินอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย   ขนาดของการลงทุนตามที่กำหนดไว้ให้ลดลงกึ่งหนึ่ง   ทั้งนี้ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิบคนเว้นแต่การพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
                               ( ก)   ทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
                               ( ข)   ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตรต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา
                               ( ค)   ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว   ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย   ไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา
                               ( ง)   ทำงานกับนายจ้างที่มีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน  

                                          

                              ( ๔)   คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดของการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท   หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของการลงทุนจากเงินที่นำมาจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าสามล้านยาท   ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้มิให้นำข้อจำกัดในเรื่องจำนวนคนต่างด้าวตามความในข้อ   ๕   ( ๓)   มาใช้บังคับ
                               ( ก)   คนต่างด้าวทำงานที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยยังทำไม่ได้   หรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ   โดยให้มีการถ่ายทอดให้แก่คนไทยอย่างน้อยสองคน   ภายในระยะเวลาที่กำหนด
                               ( ข)   คนต่างด้าวทำงานโดยใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน
                               ( ๕)   คนต่างด้าวทำงานในมูลนิธิ   สมาคม   หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม   มิให้นำหลักเกณฑ์ในข้อ ๕(๓) มาใช้บังคับ
                               ( ๖)   คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ   ซึ่งเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า   การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่   และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบให้อนุญาตได้ไม่เกินสองคน   คนต่างด้าวที่เข้ามาหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่   การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทยให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน   เว้นแต่สำนักงานผู้แทนนั้นสามารถหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยมีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
                               ( ๗)   คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น   เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ   ได้แก่   การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทใรเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่   การให้คำปรึกษาหรือบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล   การจัดการด้านการเงินและควบคุมการตลาดและการวางแผนส่งเสริมการขาย   การพัฒนาผลิตภัณฑ์   และการวิจัยพัฒนาโดยไม่มีรายได้จากการให้บริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง   ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้นให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน   เว้นแต่สำนักงานภูมิภาคนั้นนำเงินเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท                                ข้อ   ๖   การพิจารราออกใบอนุญาตตามข้อ   ๔   ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่นายจ้างที่มีลักษณะตามข้อ   ๕   ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์   ดังต่อไปนี้
                               ( ๑)   คนต่าางด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันทุก ๆ เจ็ดแสนบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน   ทั้งนี้ไม่เกินสาทคน
                               ( ๒)   คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาทุกๆห้าหมื่นบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน   ทั้งนี้ไม่เกินสามคน
                               ( ๓)   คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีการจ้างคนไทยทุกสี่คนให้อนุญาตได้หนึ่งคนทั้งนี้ไม่เกินสามคน
                                หลักเกณฑ์ตามความในวรรคหนึ่งให้ลดกึ้ฃ่งหนึ่งในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ขอใบอนุญาตมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรส   โดยถูกต้องตามกฏหมายและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย
                                ข้อ   ๗   การพิจารณาอกใบอนุญาตตามข้อ   ๔   ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานให้บริการทางกฏหมายหรืออรรถคดี   ให้อนุญาตได้ตามจำนวนที่คู่กรณีตกลงกันในงานดังต่อไปนี้
                               ( ๑)   งานปฏิบัติหน้าที่ให้อนุญาตโตตุลาการ
                               ( ๒)   งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ   ถ้ากฏหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฏหมายไทย   หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย
                               ข้อ   ๘   การพิจารณาอนุญาตนอกเหนือจากกรณีหรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้   ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
                               ข้อ   ๙   บรรดาคำขอที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ   ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๕   ลงวันที่   ๒๒   พฤษภาคม   พ.ศ.๒๕๔๕   ระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕   ลงวันที่   ๑๑   กรกฎาคม   พ.ศ. ๒๕๔๕   และระเบียบกรมการจัดหางาน   ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว(ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๖   ลงวันที่   ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ 
         ข้อ   ๑๐   ให้อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้รักษาการตามนี้

                                                                         

หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป

  เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

o คนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงาน

o คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด 

บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท บริษัทต้องมียอดรวมผู้เป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

บริษัทต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเงินที่จะจ่ายให้คนต่างด้าว o บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน

 

o   หนังสือเดินทาง + วีซ่า NON-B และใบอนุญาตทำงาน

o   รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป

o   หนังสือรับรองบริษัท

o   บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว

o   งบดุลฯ และกำไรขาดทุน

o   ภงด.1 และประกันสังคม เดือนล่าสุด

o   ภงด 91 ของคนต่างชาติ

o   แผนที่บริษัท

o   รูปถ่ายสำนักงาน

o   แบบคำขอตามที่กำหนด

 

หลักเกณฑ์ การขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภท        
การตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) - หรือ เปลี่ยนวีซ่า

  เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

o    คนต่างด้าวต้องมีอายุวีซ่าเหลืออย่างน้อย 21 วัน

o    คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว หรือคนผ่านเข้าเมือง

o    บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท

o    บริษัทต้องมียอดรวมผู้เป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท o    บริษัทต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเงินที่จะจ่ายให้คนต่างด้าว o    บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน

 

o   หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า 21 วัน

  รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป

  หนังสือรับรองบริษัท

o   บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)

o   ใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล

o   สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

o   งบดุลฯ และกำไรขาดทุน

o   ภงด. 50 ปีล่าสุด

o   ภงด.1 จำนวน 3 เดือนล่าสุด

o   หลักฐานการศึกษา,ใบผ่านงาน รับรองจากสถานทูตและกระทรวงต่างประเทศ

o   แผนที่บริษัท

o   รูปถ่ายสำนักงาน

o   แบบคำขอตามที่กำหนด

ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 606/2549
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามหลักเกณฑ์ข้อ 7.1 (2) 

    

Nationality

Minimum Income

1. European Countries, Australia , Canada , Japan , and U.S.A.

Baht 50,000/month

2. South Korea , Singapore , Taiwan and Hong Kong

Baht 45,000/month

3. Asian Countries, South America, Countries in Eastern Europe, Countries in Central America, Mexico, Turkey, Russia and South Africa

Baht 35,000/month

4. African Countries, Cambodia , Myanmar , Laos and Vietnam

Baht 25,000/month


       

   หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทต่างๆ จากกระทรวงต่างประเทศ


หรือจากสถานทูตไทยในต่างประเทศ การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร ( Transit Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้
   -  เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร   ( รหัส TS )
   -  เพื่อเล่นกีฬา   ( รหัส S )
   -  เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร
      ( รหัส C)
2. อายุวีซ่า 3 เดือน
3. ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง
4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือ   ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
  - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  -  แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
  - รูปถ่ายขนาด 2 ? นิ้ว จำนวน 2 รูป ( ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
  -  บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
  -  วีซ่าของประเทศที่สามในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง   ( รหัส TS)
  -  หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา   ( รหัส   S)
  -  หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร   ( รหัส C)
  -  ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว ( Tourist Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว   ( รหัส TR)
2. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน
3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ต่อครั้ง
4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 หรือ 60 วัน
    หากผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวมีสัญชาติของประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว หรือมีสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย จะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 60 วัน หากเป็นผู้ที่มีสัญชาติอื่นจะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 30 วัน
5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
   -  หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  -  แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
  -  รูปถ่ายขนาด 2 ? นิ้ว จำนวน 2 รูป ( ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)
  -  หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว เช่น บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
  -  เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีที่เดินทางมากับบริษัททัวร์)
  -  ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว ( Non-Immigrant Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

o    การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F)

o    การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (ฺรหัส B)

o    การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM)

o    การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB)

o    การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED)

o    การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M)

o   การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R)

o   การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร    ( รหัส RS)

o   การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX)

o   การอื่น (รหัส O) ได้แก่
1)  การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ
2)  การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี
3)  การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
4)  การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ
5)  การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
6)  การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ
7)  การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
8) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล
9) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ

2.   อายุวีซ่า
     -  3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว ( single entry)
     -  1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง ( multiple entries)
3.  ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท ( single entry)  และ 5,000 บาท (multiple entries)
4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
7. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
เนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศไทยหลายประการ   เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง   และสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

เอกสารที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่
- หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
- รูปถ่ายขนาด 2 ? นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ) เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น
การเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลในครัวเรือนหรือในความอุปการะ   ( รหัส O)
- หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร / สูติบัตร / ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย
- หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน
- หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี  

 

         วีซ่า NON-B  ทำมาจากต่างประเทศ                                    ตราประทับ  ขาเข้า  

    

1. ชนิดวีซ่า ที่เข้ามา  NON-B                                                     1. วันที่หมดอายุ VISA

2. ประเภทของวีซ่า  NON-B  เป็นแบบ Single                            2. ประเภทของวีซ่าที่เข้ามา NON-B

3. วันหมดอายุของวีซ่า NON-B


บัตร ขาเข้า  วันที่ๆประทับในบัตรขาเข้า ต้องตรงกับ ตราประทับ ขาเข้า  ตามเลข 1


           

ตรา RE-ENTRY ทำในประเทศไทย                                  PASSPORTหน้าล่าสุด 

1. วันหมดอายุของวีซ่า NON-B                                                  1. เลขเรื่อง ขอ VISA  ปี

2. ประเภทของวีซ่า  NON-B  เป็นแบบ Single                            2. ประเภทวีซ่า เป็นแบบ ธุรกิจ

3. ชนิดวีซ่า ที่เข้ามา  NON-B                                                     3. วันหมดอายุ VISA


ติดต่อเรา
ชื่อของคุณ
อีเมลของคุณ
เบอร์โทรของคุณ
เรื่องที่ติดต่อ
ข้อความ
Verify Code

  
Forum Names Topics Last Post
General Zone
law-registration
กฏหมาย-จดทะเบียน
1 14/3/2552 6:56:00
by Administrator
in ราคาที่ต่างจากที่อื่น
workpermit - visa
เวิร์คเพอร์มิต-วีซ่า
1 10/3/2552 2:35:00
by Administrator
in ถ้าจะให้ขอ ตท3 คิดเท่าไหร่คับ
account-audit
บัญชี-ตรวจสอบบัญชี
0
                                                         

  

                           

                                                          


          (Root) 2009323_52625.jpg(Root) 2009323_52654.jpg(Root) 2009323_52679.jpg(Root) 2009323_52707.jpg

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 165,341 Today: 6 PageView/Month: 110

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...